เจาะให้โดน

เจาะให้โดน

ถอดบทเรียน

พฤหัสเสวนา 18 ตุลาคม 2555

เรื่อง "เจาะให้โดน"

 ผู้ร่วมเสวนา :

  • นายแพทย์ดลสุข พงษ์นิกร
  • แพทย์หญิงธันยภัทร พงษ์เลาหพันธ์
  • แพทย์หญิงกาญจนา ศรีวิชัย
  • นางอารดา ปาวงศ์
  • นางกาญจนา ดาวประเสริฐ
  • นายทวีศักดิ์ ธงคำ
  • และผู้เข้าร่วมฟังจากสหสาขาวิชาชีพ

ผู้ดำเนินรายการ: นางกาญจนา ดาวประเสริฐ

ขั้นตอนการเจาะเลือด

เพื่อนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย มี 3 ประเด็น คือ

การเจาะจากเส้นเลือดแดงเป็นการเจาะแบบง่ายโดยการเจาะจากปลายนิ้ว เป็นการตรวจหาค่าน้ำตาลในเส้นเลือด

การเจาะจากเส้นเลือดแดง ซึ่งตามหลักการเจาะจากเส้นเลือดแดง ต้องให้แพทย์เป็นผู้เจาะ เนื่องจากเป็นเส้นเลือดที่ต้องระวังและอันตรายมากเมื่อเจาะผิดอาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด และทำให้ผู้ป่วยเสียหลอดมากได้

การเจาะจากเส้นเลือดดำ ข้อควรระวังในการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำ คือ การเลือดหลอดเลือดหรือเส้นเลือดในการเจาะ คือการเลือดเจาะจากข้อพับ ซึ่งหาเส้นได้ง่าย เส้นเลือดอยู่ไม่ลึก และเป็นการเจาะที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ดิ้น และถ้าหากเจาะจากเส้นนี้ไม่ได้ก็สามารถเลือกเจาะจากสองเส้นที่บอกไปได้

การเลือกเข็มเจาะเลือด

            การเลือกเข็มเจาะนั้นต้องเลือกจากเส้นเลือดที่มีเลือดเพียงพอหรือไม่ ซึ่งในการใช้เข็มจะใช้เบอร์ 21-22 เพราะดูดง่ายและเป็นที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งบางครั้งพบเจอผู้ป่วย ที่มีเส้นเลือดน้อย ๆ ดูดแล้วไม่ได้เลือดมาก เจ้าหน้าที่ต้องเปลี่ยนขนาดเข็มให้เล็กลง ถ้าใช้ ไซริงค์ขนาดใหญ่ก็จะทำให้ผู้ป่วย กลัวการเจาะเลือดได้

การใช้หลอดบรรจุเลือด

          ความสำคัญของหลอดบรรจุเลือดแต่ละอัน จะมีสารกันเลือดแข็งอยู่ภายในหลอดบรรจุแล้ว และบางอันมีสารที่ทำให้การตกตะกอนของเลือดเร็วขึ้น ซึ่งทางกลุ่มงานพยาธิคลินิก ได้จัดทำคู่มือการเจาะเลือดไว้ให้คำแนะนำและวิธีการเจาะเลือดที่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่ ที่ได้ปฏิบัติงานทางด้านนี้ได้เข้าใจตรงกัน และหลอดบรรจุหลอดมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น จุกสีแดง/ขาวไม่มีสารกันเลือดแข็งบรรจุ จุกสีม่วง ใช้สาร EDTA เป็นสารที่กันเลือดแข็ง จุกสีเทา ใช้sodium fluoride เป็นสารกันเลือดแข็ง จุกสีเขียว ใช้สาร heparin เป็นสารกันเลือดแข็ง จุกสีฟ้า ใช้สาร trisodium citrate เป็นสารกันเลือดแข็ง ซึ่งแต่ละสีจะลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม

เทคนิคการเจาะเลือดที่ถูกวิธี

          การเจาะเลือดที่ถูกต้องนั้น เริ่มจากที่คนเจาะ จะต้องมีความรู้ทางด้ายกายวิภาค เพราะเส้นเลือดดำ เส้นเลือดแดง และ เส้นประสาท จะอยู่ใกล้ ๆ กัน ถ้าเจาะผิดไปเจาะเส้นเลือดแดง ?เลือดกระฉูด?หรือถ้าเจาะตรงเส้นประสาทก็อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติได้หลาย ๆ อย่าง การมัดสายยางต้องมัดเหนือข้อศอกประมาน 2 ซม. ต้องไม่แน่นเกินไป หรือ หลวมเกินไป เพื่อให้เส้นเลือดดำปรากฏได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ขั้นตอนการเช็คทำความสะอาดบริเวณที่ถูกเจาะ จะใช้ 70% แอลกอฮอล์หรือ เบตาดิน ต้องเช็ดเป็นวง โดยเข็ดจากข้างในออกมาข้างนอกโดยจะไม่มีการเช็ดซ้ำในบริเวณที่เช็ดแล้ว ถ้าเช็ดไม่สะอาด ให้เช็ดด้วยวิธีเดียวกันโดยใช้สำลีที่มีน้ำยาฆ่าเชื้ออีกก้อน เพราะถ้าเช็ดซ้ำในบริเวณที่เช็ดจะส่งผลเสียต่อผิวหนังของผู้ป่วย ซึ่งจะมีเชื้อแบคทีเรียปนอยู่ เช่น เชื้อรา หรือไวรัส จะทำให้เกิดโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ปากเข็มจะต้องไม่ไปสัมผัสกับสิ่งอื่น ๆ ยกเว้น แขนของผู้ป่วยที่ถูกเจาะเพราะถ้าสัมผัสจะถือว่าไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อแล้วหลังจากนั้นให้ค่อยดึงปลอกเข็มออก แล้วใช้นิ้วโป้งตรึงเส้นเลือดที่ต้องการเจาะเจาะเลือดทำมุม 30 - 40 องศากับเส้นเลือด แล้วดูดเลือดตามปริมาตรที่ต้องการ หลังจากได้เลือดตามที่ต้องการแล้วให้ปลดสายยางออก แล้วค่อยดึงเข็มออกมา แล้วเอาสำลีปิดแผล และใช้เทปติด หลังจากนั้น นำเลือดที่ได้ รีบนำมาใส่หลอดเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการตรวจหาอะไร หรือกรณีที่ไม่ใช่สารกันเลือดแข็ง เลือดก็จะแข็งตัวภายในเวลาไม่นาน เกิดเป็นก้อน ในกรณีที่เป็นการบริจาคโลหิตเทคนิคการเจาะเลือดจะเหมือนกันต่างกันที่เข็มจะใหญ่มากซึ่งในถุงจะมีสารกันเลือดแข็งและอาหารให้เซลล์เม็ดเลือดและเกร็ดเลือด โดยเลือดที่ยังไม่ได้ใช้จะถูกเก็บไว้ในสถานที่ ที่มีอุณหภูมิเหมาะสมของส่วนประกอบของเลือดแต่ละชนิดและอายุของแต่ละส่วนประกอบของเลือดแต่ละชนิดจะมีอายุไม่เท่ากัน

 

©2015, การจัดการความรู้

ออกแบบระบบและพัฒนาโดย งานศูนย์ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี
โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง